ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 มกราคม 2559
รัฐประหาร-ร่างทรง ถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ไทย "ภาพล่องหน" รัชกาลที่ ๕ ในสราบบภาพร่างอย่างหวัด "ตัดนิ้วตัวเอง" วัฒนธรรมการประท้วงในอุษาคเนย์ พระตะบองในฐานะหัวเมืองของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ "ชลาคาร" วิหารใต้พิภพในอินเดีย
ประเภท : นิตยสารความรู้ทั่วไปรายเดือน
ราคาบนปก : 120 บาท
ISSN : -
บริษัท : บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์ : -
อีเมล : silapa@matichon.co.th
วางแผง : 4 มกราคม 2559
สั่งซื้อนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 มกราคม 2559 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ซื้อเลยการทรงเจ้าเข้าผีไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย ยิ่งสังคมวิกฤติ ยิ่งพบมาก โดยเฉพาะนับตั้งแต่รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกฏการณ์ร่างทรงได้เพิ่มอัตราสูงมาก แต่ที่น่าสนใจคือร่างทรงในยุครัฐประหารนี้มีความหลากหลายสูงมาก เช่น มีทรงโดราเอมอน ไจแอนต์ ผีอีแพง ซึ่งเป็นตัวการ์ตูน ตัวละคร หรือการทรงเทพชั้นสูง เช่น พระคเณศ เป็นต้น
ภาพลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสยุโรปทั้ง ๒ คราวเป็นภาพหาดูได้ยาก เนื่องจากภาพทั้งหมดไม่ได้ถูกถ่ายไว้โดยคนไทย แต่เป็นช่างภาพนิรนามที่ไม่มีใครรู้จัก ภาพโดยมากจึงตกค้างอยู่ในทวีปยุโรปและยากที่จะค้นหามาพิสูจน์เอกลักษณ์ได้ ภาพเหล่านี้เคยเป็นพระราชกรณียกิจที่อ้างถึงในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน บางทีก็เป็นเหตุการณ์ที่ในหลวงทรงยืนยันไว้เอง ทว่าหาภาพมาพิสูจน์ไม่ได้ ภาพประเภทนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "ภาพล่องหน"
ในบรรดาสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์แห่งอดีต มี "วิหารหิน" ของอินเดียประเภทหนึ่งเก่าแก่และโอ่อ่าตระการตาไม่น้อยไปกว่าปราสาทขอมและชวา แต่ในขณะที่ปราสาทหินแห่งอาเซยนได้กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิหารแห่งชมพูทวีปเหล่านี้ยังคงซ่อนตัวเงียบ ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักพบเห็นแม่ในหมู่คนอินเดียเองเสียด้วยซ้ำ