ปีที่ 3 ฉบับที่ 34 กันยายน 2558
Proud to be Thai +ผู้พันเบิร์ด พันโทวันชนะ สวัสดี ภูมิใจในความเป็นไทย +สมเถา สุจริตกุล การผสมผสานที่ลงตัวของวัฒนธรรม กายสุข ใจสุข สังคมสุข +จริง...ดี...งาม อุดมการณ์เพื่อสังคม สถาพร ศรีสัจจัง ลุ้นรับ Stealth to Cell Power Moist Acai Berry Cream
ประเภท : นิตยสารชีวิตและความรักรายเดือน
ราคาบนปก : 65 บาท
ISSN : 2286-802x
บริษัท : บริษัท ไทยภิรมย์สตาร์ จำกัด
เว็บไซต์ : www.facebook.com/happyplusmag
อีเมล : happyplusmag@gmail.com
วางแผง : 29 สิงหาคม 2558
สั่งซื้อนิตยสาร HAPPY+ ปีที่ 3 ฉบับที่ 34 กันยายน 2558 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ซื้อเลยเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 นอกจากเป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เปิดตัวสู่สายตาประชาชนทั่วประเทศอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว วันนั้นยังตรงกับวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาในสงครามยุทธหัตถีและตรงกับวันกองทัพไทยอีกด้วย นอกจากภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ เรื่องนี้จะทำให้ทุกคนรับรู้ถึงเรื่องราวโดยสมบูรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว ยังทำให้เรารู้จักกับเขาคนนี้ ผู้พันเบิร์ด - พันโทวันชนะ สวัสดี มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งทางนิตยสาร happy+ ได้มีโอกาสบุกไปถึงที่ทำงานของผู้พันเบิร์ด ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เพื่อร่วมพูดคุยถึงเรื่องราวส่วนตัวและแนวความคิดของผู้ชายคนนี้ ที่ต้องแอบกระซิบบอกว่าน่าชื่นชมเป็นอย่างมากค่ะ
ในโลกของดนตรีที่มีแต่ตัวโน้ตและเสียงเพลงบรรเลงนั้นอาจต้องใช้ประสาทสัมผัสทางหูในการรับฟัง แต่ในบางครั้งบทเพลงสามารถสร้างภาพต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ตามแต่บทเพลงเหล่านั้นจะพาเราไป โลกของเพลงคลาสสิกก็เช่นเดียวกัน หลายคนอาจมองว่าเพลงคลาสสิกเป็นเรื่องของบทเพลงอันสูงส่งที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทางดนตรีในการรับฟัง คนธรรมดาสามัญทั่วไปฟังแล้วจะไม่เข้าใจและไม่รับรู้ถึงสุนทรีย์ในบทเพลงนั้นๆ
ในยุคสมัยที่ความเจริญยังมีไม่มากเท่ากับยุคปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ตยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มหรสพความบันเทิงที่พอจะส่งตรงสู่หมู่บ้านของทุกคนในสมัยนั้น ก็คือ หนังตะลุง ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของทางภาคใต้ ที่นำเสนอเรื่องราวทางวรรณคดีหรือเรื่องเล่าผ่านบทร้อยกรองโดยใช้สำเนียงท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ และคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในภาคใต้ช่วงปี พ.ศ. 2507-2520 คือ คณะหนังเคล้าน้อย ของคุณเคล้า โรจนเมธากุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) ประจำปี พ.ศ. 2555 ซึ่งหนังเคล้าน้อยได้รับการยอมรับว่าเป็นหนังตะลุงชั้นครู ต้นแบบของการเชิดหนังตะลุง ที่ชุบชีวิตรูปหนังตะลุงให้มีชีวิตชีวา สร้างเสียงหัวเราะและความสนุกสนานให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี