ปีที่ 36 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2558
ไฟไหม้กรุงเทพฯ รัฐสมัยใหม่กับชีวิต "ไพร่" สมัยรัชกาลที่ ๕ สำรวจอดีตจุดปันเขตแดนไทย-กัมพูชา แล้ว "ลูกหนู" งานศพก็กลายเป็นมหรสพ อ่างศิลาและด่านพระจารึก พลังของระบบขนส่งแบบใหม่ในยุคเผด็จศึก "หมอตำแย" ทำไมถึงเรียก "หมอตำแย"?
ประเภท : นิตยสารความรู้ทั่วไปรายเดือน
ราคาบนปก : 120 บาท
ISSN : -
บริษัท : บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์ : -
อีเมล : silapa@matichon.co.th
วางแผง : 1 พฤษภาคม 2558
สั่งซื้อนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 36 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2558 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ซื้อเลย"ไฟไหม้ ไฟไหม้" คำนี้หลายคนไม่อยากได้ยิน เพราะการเกิดไฟไหม้นำมาซึ่งการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ได้ประสบเหตุ การเกิดไฟไหม้แต่ละครั้งไม่เพียงแต่จะทิ้งร่องรอยของความเสียหายของสิ่งปลูกสร้าง กองเถ้าถ่าน และควันไฟ แต่คดีประเภทนี้ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ในยุคที่เมืองหลวงเริ่มเข้าสู่ยุคทันสมัยด้วยการปรับปรุงลักษณะด้านกายภาพและวิถีชีวิตของราษฎร ปัญหาไฟไหม้ได้เป็นปัญหาของเมืองหลวงที่กระทบต่อการดำรงชีวิตและความสงบสุขของราษฎร อันมีสาเหตุเกี่ยวข้องจากรูปแบบการใช้ชีวิต สภาพด้านกายภาพของที่พักอาศัย ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ อันมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดไฟไหม้ในกรุงเทพฯ อยู่เสมอ ทำให้รัฐต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาเหล่านี้ อันแสดงถึงบทบาทของรัฐสมัยใหม่ในการเข้ามากำหนดวิถีชีวิตของราษฎรโดยตรงผ่านมาตรการจัดการพื่้นที่เมือง
"ด่านพระจารึก" ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "ด่านพระจฤต" หรือ "ด่านพระจริต" เป็นด่านที่สำคัญตามเส้นทางการเดินทัพระหว่างไทย-กัมพูชามาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏว่ามีการอ้างถึงหลายครั้งในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นต้นมา ว่าเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทัพไปตีเมืองละแวกทั้ง ๒ ครั้ง และเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ในเวลาต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั่นเอง) เดินทัพกลับมาปราบจราจลในกรุงธนบุรีก็ได้เดินทางกลับผ่าน "ด่านพระจารึก" เข้ามาตามเส้นทางนี้
แม้ ธงชัย วินิจฉัยกูล จะกล่าวว่าแผนที่และวิชาทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่เป็นสิ่งที่สร้างตัวตนของรัฐสยามขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน กระนั้นก็เป็นเพียงการสร้างสำนึกความคิดที่ร่างภาพพื้นที่ประเทศไทยให้เก็บงำบันทึกไว้ในความทรงจำร่วมของสังคมเพียงเท่านั้น ข้อจำกัดสำคัญที่ไม่สามารถทำให้รัฐไทยแผ่อำนาจลงไปควบคุมประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ งบประมาณและการเชื่อมต่อของรัฐสู่ท้องที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงความเป็นรัฐไทยที่ล้วนต้องผ่านนายอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย หรือวิทยุ การเดินทางระยะไกลยังถือเป็นเรื่องพิเศษของชีวิต หรือเรื่องเกินความจำเป็น ลุล่วงมาถึงทศวรรษ ๒๕๐๐ ทางหลวงและท้องถนนกลับเป็นสิ่งที่สถาปนาตัวตนของประเทศไทยขึ้นมาบนประสบการณ์เดินทางและการขนส่งของมวลชนที่ปลดแอกพันธนาการของพื้นที่ทางกายภาพลงอย่างสิ้นเชิง