ปีที่ 37 ฉบับที่ 11 กันยายน 2559
"เลือดสุพรรณ" เมื่อรัฐปลุกหญิงไทยให้รัก "ชาติไทย" แต่ทำไมต้องเป็น "เลือดสุพรรณ" ? ช้างบรรณาการจากรัชกาลที่ ๔ จบชีวิตที่ร้านขายเนื้อกรุงปารีส! จริงหรือ? ตามหาเครื่องพุทธบูชาพระพุทธชินราชในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย วัฒนธรรมร่วมราก: จาก "สารทเดือน ๑๐ เมืองนคร" ย้อนดูงานบุญเขมร ลาว-ไทย กับการสร้างความหมายในทาง "เชื้อชาติ"
ประเภท : นิตยสารความรู้ทั่วไปรายเดือน
ราคาบนปก : 120 บาท
ISSN : -
บริษัท : บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์ : -
อีเมล : silapa@matichon.co.th
วางแผง : 7 กันยายน 2559
สั่งซื้อนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 37 ฉบับที่ 11 กันยายน 2559 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ประหยัดลง 31 บาท จากราคาปก 120 บาท
ทำไมต้องเป็น เลือดสุพรรณ? ทำไมละครเพลงเรื่องแรกของหลวงวิจิตรวาทการจึงไม่เป็น เลือดอยุธยา? หรือเลือดกรุงเทพฯ? หรือเลือดอุทัยธานีบ้านเกิด?
เรื่องโดยมากในพงศาวดารไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่สมบูรณ์กว่าเรื่องจากสมัยสุโขทัย หรืออยุธยา โดยมีราชสำนักเป็นศูนย์กลางจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ยุคใหม่ยังมีเจ้านายและขุนนางผันตัวเองเป็นนักประวัติศาสตร์ช่วยให้รายละเอียดมีสีสันยิ่งขึ้น แต่ตัวละครในอดีตก็อาจถูกตัดตอนออกไปหากมีอันต้องพลัดพรากอยู่ภายนอกประเทศ เป็นเหตุให้คนไทยขาดการรับรู้ กลายมาเป็นประวัติศาสตร์ขาดตอนในที่สุด
ความเข้าใจกระบวนการสร้างประวัติศาสตร์เป็นเสมือนแบบจำลองของพลวัตของความเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทย และประวัติศาสตร์ยังมีสถานะเป็นเครื่องยืนยันตำแหน่งแห่งที่ใน "ชาติไทย" ที่แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองต่างๆ ผูกพันเชื่อมโยงกับ "ชาติไทย" ในสถานะใด ซึ่งจะส่งผลต่อ "การรับรู้" ภาพลักษณ์และความทรงจำต่อบ้านเมืองนั้นๆ อย่างมีนัยสำคัญ