ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 เมษายน 2559
ทำไมรัชกาลที่ ๑ ไม่ทรงรีบเผาพระเจ้าตากฯ? หรือว่าพระเจ้าตากฯ ไม่ได้ถูกประหาร?? พระนเรศวรสวรรคตที่เวียงแหงจริงหรือ? จาก "ซาแต๊ปึ่ง" ถึง "ข้าวพระรามลงสรง" "พระยาละแวก" ตี "เมืองเพชรบุรี" ตีทางไหน? ๑๐๐ ปี รถไฟสายลำปาง-กรุงเทพฯ ประวัติศาสตร์ของความเฟื่องและความเสื่อม
ประเภท : นิตยสารความรู้ทั่วไปรายเดือน
ราคาบนปก : 120 บาท
ISSN : -
บริษัท : บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์ : -
อีเมล : silapa@matichon.co.th
วางแผง : 7 เมษายน 2559
สั่งซื้อนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 เมษายน 2559 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ประหยัดลง 31 บาท จากราคาปก 120 บาท
ประวัติสาสตร์ช่วงสมัยกรุงธนบุรี แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ และมีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว แต่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีความสำคัญ เพราะเป็นช่วงเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุทธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีความสำคัญที่สัมพันธ์ทั้งกับประวัติศาสตร์ช่วงก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒ และโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่อาจกล่าวได้ว่าพระราชประวัติของพระองค์บางช่วงบางตอนส่งผลต่อสังคมในสมัยนั้น และยังเป็นที่ชวนกล่าวถึงจนมาถึงปัจจุบัน
ปีนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๙) ครบรอบ ๔๑๑ ปีวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในประวัติศาสตร์ของรัฐชาติไทย ยกย่องพระองค์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครเกิน แต่เป็นที่น่าสนใจว่าเรื่องราวของพระองค์กลับมีปัญหาให้ถกเถียงมากด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพระราชประวัติหรือวีรกรรมต่างๆ อาทิ การชนไก่ พิธีปฐมกรรม พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง หรือแม้แต่การยุทธหัตถี ล้วนถูกตั้งข้อสงสัยว่าจริงหรือ? และล่าสุดเรื่องสถานที่สวรรคตของพระองค์ก็เป็นประเด็นขึ้นมา
ลาลูแบร์ นักการทูตฝรั่งเศสเขียนไว้ว่าในสมัยอยุธยามีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่มากถึง ๔๐ ชาติ จากการที่อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศและของป่าระหว่างเอเชียกับโลกตะวันตก กว่าครึ่งหนึ่งตั้งรกรากอยู่ในสยามเรือยมาจนขึ้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทว่าภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง พ.ศ. ๒๓๙๘ ก็เกิดการอพยพระรอกใหม่ของชาวต่างชาติกลุ่มใหม่เข้ามายังบางกอก พวกเขาเป็นใคร? และวันนี้ยังมีร่องรอยพวกเขาหรือไม่?
"---เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง---" เป็นคติสะกิดใจให้ผู้คนได้รับรู้ถึงความเป็นจริงของชีวิตจากหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ครั้งที่ตัดสินพระทัยละทิ้งชีวิตราชการที่กำลังรุ่งเรืองและความสะดวกสบายในเมืองหลวงไปทรงบุกเบิกการเกษตรกรรมที่ฟาร์มบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และทรงอุทิศทั้งพระชนมชีพเพื่อส่งเสริมการเกษตรของไทย