ปีที่ 4 ฉบับที่ 38 มิถุนายน 2558
คารวาลัยหลวงพ่อคูณ "เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด" โขงนทีสีทันดรฯ ดินแดนสี่พันดอน ธีรภาพ โลหิตกุล กินหมาก ไยต้องมีปูน ผศ.ดร.ไชยยง รุจจนเวท คอลัมน์ใหม่ "ฮุ่งเฮืองเมืองปราชญ์" ธันยพงศ์ สารรัตน์ "ที่ราบสูง ๒๐ จังหวัด"
ประเภท : นิตยสารความรู้ทั่วไปรายเดือน
ราคาบนปก : 100 บาท
ISSN : 2286-6418
บริษัท : บริษัท ทางอีศาน จำกัด
เว็บไซต์ : e-shann.com
อีเมล : e-shann@hotmail.com
วางแผง : 2 มิถุนายน 2558
สั่งซื้อนิตยสาร ทางอีศาน ปีที่ 4 ฉบับที่ 38 มิถุนายน 2558 ฉบับดิจิตอล (Digital Version) กับ Ookbee
ซื้อเลยในอดีต ชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรม และมีหน้าที่ตามพันธะของการควบคุมคนในระบบไพร่ ทำให้ต้องทำงานรับใช้ข้อมูลนายหรือส่งสิ่งของในท้องถิ่นเป็นส่วยเพื่อทดแทนการทำงานจึงอาจกล่าวได้ว่า สภาพเศรษฐกิจอีสานก่อนมีทางรถไฟเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพหรือพึ่งตนเอง คือคนในชุมชนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าหลักๆ ที่จำเป็นทุกอย่างโดยไม่ต้องพึ่งสินค้านอกภาค
"รู้ไหมว่า ทำไมกินหมาก ต้องใส่ปูนด้วย?" คำถามนี้ ต่อให้ถามคนกินหมาก ก็คงได้คำตอบไม่ชัดเจน จะว่าทำให้มีรสชาติดีหรือ คงไม่ใช่ หมากมีรสขมฝาดยิ่ง พลูก็เผ็ดซ่า ป้ายปูนที่ทั้งฝาดทั้งกัดปากลงบนใบพลูแล้ว คงไม่ทำให้หมากคำนี้มีรสชาติดีไปได้ แล้วถ้าไม่มีปูนจะเป็นไร คนกินหมากตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ก็กินหมากไม่ได้น่ะสิ"
มหานทีสีทันดร หรือแม่น้ำโขง ช่วงที่ไหลผ่านแขวงจำปาศักดิ์ของลาว นับเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติสุดจะพรรณา เพราะแม่น้ำแผ่กว้างออกมากสุดถึง ๑๕ กิโลเมตร เป็นระยะทางราว ๔๐ กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่รวมเกือบ ๕๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งเต็มไปด้วยเกาะแก่งระเกะระกะนับได้ถึงสี่พันเกาะ หรือที่ชาวลาวเรียก "ดินแดนสี่พันดอน"